Part >> 1
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต ครั้งที่ 2
เรื่อง "องค์ประกอบคอมพิวเตอร์"
เรื่อง "องค์ประกอบคอมพิวเตอร์"
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi0diiG38UW5zOTEUIbCKWC4kiympMrogpxeph8GwHCaLDH75R3o1w3wwCAq_l6X_ZDehsobTbqAA9ifyRnLCx4zwN4ShzvarOrHnP0BUTe-_AUfZNzJqoluUO7b3DfVDgdB8RrygTPcR4/s1600/baipak.blogspot.com.love.009.gif)
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
- หน่วยควบคุม(Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
- หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
- หน่วยความจำเป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- หน่วยความจำภายใน
- หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ- แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
- แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
- แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
![](http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/images/disk3.25.jpg)
![](http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/images/disk5.25.jpg)
ขนาด 5.25 นิ้ว ขนาด 1.44 MB
หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
8 Bit
| 1 Byte |
1 Byte | 1 ตัวอักษร |
1 KB | 1,024 Byte |
1 MB | 1,024 KB |
1 GB | 1,024 MB |
1 TB | 1,024 GB |
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ 1. ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
2. ขนาด 3.5 นิ้ว ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป
![](http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/images/Hdd.jpg)
Hard disk
Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )
คุณสมบัติดังนี้ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี
- เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
- มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
- ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
- เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
![](http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/images/cd-rom1.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi0diiG38UW5zOTEUIbCKWC4kiympMrogpxeph8GwHCaLDH75R3o1w3wwCAq_l6X_ZDehsobTbqAA9ifyRnLCx4zwN4ShzvarOrHnP0BUTe-_AUfZNzJqoluUO7b3DfVDgdB8RrygTPcR4/s1600/baipak.blogspot.com.love.009.gif)
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น
ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้
- แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง
- อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง
- คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
การใช้งานทั่วไปก็จะมี Software ต่างๆ เช่น
- ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร
- ซอฟต์แวร์งานนำเสนอ
- ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ
- ซอฟต์แวร์งานกราฟิก
- ซอฟต์แวร์สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
![](http://1.bp.blogspot.com/-TfnlCk0G3XQ/ToAEQ-TXbxI/AAAAAAAAG_4/zCWSORT8JFw/s1600/Line.baipak.blogspot1.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi0diiG38UW5zOTEUIbCKWC4kiympMrogpxeph8GwHCaLDH75R3o1w3wwCAq_l6X_ZDehsobTbqAA9ifyRnLCx4zwN4ShzvarOrHnP0BUTe-_AUfZNzJqoluUO7b3DfVDgdB8RrygTPcR4/s1600/baipak.blogspot.com.love.009.gif)
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
- ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User)
- ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter)
- ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
- ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis)
- ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager)
*******************************************************
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter) หมายถึงผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพความพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิคการรักษา ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดการต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ค่อนข้างดี
ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้งาน
ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพดี เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป
ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager) เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi0diiG38UW5zOTEUIbCKWC4kiympMrogpxeph8GwHCaLDH75R3o1w3wwCAq_l6X_ZDehsobTbqAA9ifyRnLCx4zwN4ShzvarOrHnP0BUTe-_AUfZNzJqoluUO7b3DfVDgdB8RrygTPcR4/s1600/baipak.blogspot.com.love.009.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj34130eM3nCyW9ac1YOf1djpFd8fduHaqs_wugsW7vU8_EKb4GiGUk4S6jjmMsELLTx7B-z1bJF-wmbVqxZic2t65pDNYBVLX7mzPRWXARQiyLLxpFSyjwH8WyYRyKHnww3qRuAWS8VIjp/s200/trade-data.jpg)
1. ในการคำนวณ ข้อมูล (data) เป็นสารสนเทศ (information) ที่สามารถแปลเป็นรูปแบบที่สะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือประมวลผล สัมพัทธ์กับคอมพิวเตอร์ และตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล เป็นสารสนเทศที่แปลงเป็นรูปแบบ binary หรือ ดิจิตอล
2. ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ติดต่อภายในหรือ การสื่อสารผ่านเครือข่าย ข้อมูลมักจะแยกจาก "control information", "control bits" และคำที่คล้ายกันในการชี้หน่วยการส่งเนื้อหาหลัก3. ในด้านโทรคมนาคม ข้อมูลบางครั้งหมายถึง สารสนเทศ ของรหัสแบบดิจิตอล ที่แยกจากสารสนเทศของรหัสแบบอะนาล็อก เช่น โทรศัพท์แบบดั้งเดิม โดยทั่วไป อะนาล๊อก หรือเสียง ( voice) มีการส่งผ่านที่ต้องการ การติดต่อที่ต่อเนื่อง สำหรับการกำหนดเวลาของชุดการส่งที่สัมพันธ์กัน การส่งผ่านข้อมูล สามารถส่งด้วยการติดต่อแบบเป็นช่วงในรูปของแพ็คเกต
4. โดยทั่วไป และในวิทยาศาสตร์ ข้อมูลหมายถึง ตัวของข้อเท็จจริง
data ที่มีจากภาษา ลาติน ซึ่ง data เป็นรูปพหูพจน์ของ "datum" โดยการใช้รูปพหูพจน์ "data" แต่การใช้ "datum" พบน้อยมาก และมีการใช้ "data" ในความหมายเอกพจน์
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่นำมาใช้กับหอพักหรือโรงแรม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
![](http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/images/comone.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
![](http://1.bp.blogspot.com/-R1Tfaw3RJx8/ToAIhuPVW2I/AAAAAAAAHCg/cLmLpr8GUPU/s400/line-%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B1%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%25A37.gif)
แสดงข้อมูลและรูปแบบของสารสนเทศ
พนักงานบริษัท PTTGCGROUP
นับจำนวน ของ ชื่อ - นามสกุล | เพศ | ||||
ปีเข้างาน | Man | Woman | (ว่าง) | - | ผลรวมทั้งหมด |
2526 | 1 | 1 | |||
2527 | 1 | 1 | |||
2555 | 12 | 9 | 21 | ||
2510 | 8 | 1 | 9 | ||
2511 | 1 | 1 | |||
2527 | 1 | 1 | 2 | ||
2528 | 6 | 2 | 8 | ||
2529 | 6 | 6 | |||
2530 | 20 | 11 | 31 | ||
2531 | 90 | 23 | 113 | ||
2532 | 88 | 18 | 106 | ||
2533 | 33 | 23 | 56 | ||
2534 | 39 | 19 | 58 | ||
2535 | 35 | 21 | 56 | ||
2536 | 114 | 32 | 146 | ||
2537 | 269 | 28 | 2 | 299 | |
2538 | 202 | 40 | 1 | 243 | |
2539 | 175 | 55 | 230 | ||
2540 | 147 | 22 | 169 | ||
2541 | 17 | 4 | 21 | ||
2542 | 8 | 1 | 9 | ||
2543 | 11 | 16 | 27 | ||
2544 | 28 | 14 | 42 | ||
2545 | 10 | 10 | 20 | ||
2546 | 64 | 15 | 79 | ||
2547 | 60 | 12 | 72 | ||
2548 | 89 | 15 | 104 | ||
2549 | 88 | 25 | 113 | ||
2550 | 158 | 46 | 204 | ||
2551 | 90 | 50 | 140 | ||
2552 | 166 | 54 | 220 | ||
2553 | 81 | 62 | 143 | ||
2554 | 57 | 59 | 116 | ||
(ว่าง) | 1 | 2884 | 2885 | ||
ผลรวมทั้งหมด | 2174 | 690 | 2887 | 1 | 5752 |
ปีเข้างาน | Man | Woman |
2526 | 1 | |
2527 | 1 | |
2555 | 12 | 9 |
2510 | 8 | 1 |
2511 | 1 | |
2527 | 1 | 1 |
2528 | 6 | 2 |
2529 | 6 | |
2530 | 20 | 11 |
2531 | 90 | 23 |
2532 | 88 | 18 |
2533 | 33 | 23 |
2534 | 39 | 19 |
2535 | 35 | 21 |
2536 | 114 | 32 |
2537 | 269 | 28 |
2538 | 202 | 40 |
2539 | 175 | 55 |
2540 | 147 | 22 |
2541 | 17 | 4 |
2542 | 8 | 1 |
2543 | 11 | 16 |
2544 | 28 | 14 |
2545 | 10 | 10 |
2546 | 64 | 15 |
2547 | 60 | 12 |
2548 | 89 | 15 |
2549 | 88 | 25 |
2550 | 158 | 46 |
2551 | 90 | 50 |
2552 | 166 | 54 |
2553 | 81 | 62 |
2554 | 57 | 59 |
Part >> 2
เรื่อง "การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์"
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjvVuV5XmqWTkIl3iXB2iCngHK9xtVMnDc9YuHIP_S0zR2Z5_Yb2bYoDLHhNIQRVgaXjYBHil6FF4BI7AK_lVh7R0BAB-CMRGmIGsPsTOUGuyj-oDpd2UTg_Zu2X2v9X8nmqDjNv0dv7Jo/s1600/baipak.blogspot.com.cat%2528a%2529+.gif)
การประมวลผลข้อมูลด้วยอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้ 3วิธี
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
2. ขั้นตอนการประมวลผล
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
1.1 การลงรหัส
1.2 การตรวจสอบ
1.3 การจำแนก
1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
2.1 การคำนวณ
2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
2.3 การสรุป
2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอ
ยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
ข้อมูล (Data) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ การจัดการข้อมูล (Data Management) เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีข่าวสาร คอมพิวเตอร์ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การจัดการและบริหารองค์การให้ประสบความสำเร็จนั้น การตัดสินใจที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องจะช่วยให้องค์การอยู่รอดได้ในการแข่งขันกับองค์การอื่นๆ
การจัดการข้อมูล หมายถึง การจัดเก็บข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการใช้งานที่รวดเร็วจึงจัดเก็บในลักษณะของฐานข้อมูล
หน่วยของข้อมูล
หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้น จากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ได้ดังนี้
- บิต (bit) เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
- ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
- เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
- ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
- แฟ้ม (file) ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
- ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน
- บิต (bit) เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
- ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
- เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
- ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
- แฟ้ม (file) ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
- ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน
หน่วยวัดความจุของหน่วยความจำทางคอมพิวเตอร์
8 bits = 1 Byte : B
1,024 Bytes = 1 Kilo Byte : KB
1,024 KB = 1 Mega By : MB
1,024 MB = 1 Giga Byte : GB
1,024 GB = 1 Tera By: TB
หมายเหตุ Kilo = 210 = 1,024
วัตถุประสงค์ในการจัดการข้อมูล
- การเก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง
- การจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์อยู่เสมอ
- การปกป้องข้อมูล จากการทำลาย ลักลอบใช้ หรือแก้ไขโดยมิชอบ รวมทั้งปกป้องข้อมูลจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากวินาศภัยหรือความบกพร่องภายในระบบคอมพิวเตอร์
โครงสร้างข้อมูล
การใช้คอมพิวเตอร์จัดการระบบฐานข้อมูลนั้น ข้อมูลของเอนทิตีต่างๆ จะได้รับการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บไว้อาจได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัดออกได้ การเก็บข้อมูลจะทำการเก็บข้อมูลไว้หลายๆ เอนทิตี และเมื่อมีการเรียกใช้อาจนำเอาข้อมูลจากหลายๆ เอนทิตีนั้นมาสัมพันธ์กันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพคือการใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยที่สุดและจะต้องเรียกค้นข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการแบ่งเอนทิตีออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อใช้เรียกข้อมูลย่อยซึ่งเรียกว่า เขตข้อมูล (Field) เมื่อนำเขตข้อมูลทั้งหมดของแฟ้มมาวางเรียงกัน จะเกิดรูปแบบที่ทางคอมพิวเตอร์มองเห็นเรียกว่า ระเบียน (Record) ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงโครงสร้างงาของแฟ้มนั้นได้รวมกันในระบบฐานข้อมูลจึงประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนหลายๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กัน
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบต่างๆ มีลักษณะเฉพาะตัวในการเข้าถึงข้อมูล ดังนี้
- แฟ้มลำดับ (Sequential file) เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มที่ง่ายที่สุด คือ ระเบียนถูกเก็บเรียงต่อเนื่องกันไปตามลำดับของเขตข้อมูลคีย์
- แฟ้มสุ่ม (Direct file) ใช้แก้ปัญหาความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูลของแฟ้มลำดับ โดยใช้ฟังก์ชันสุ่มในเขตข้อมูลคีย์เป็นข้อมูลนำเข้าและให้ผลลัพธ์เป็นตำแหน่งที่อยู่ของระเบียน
- แฟ้มดรรชนี (Indexed file) คล้ายกับดรรชนีคำศัพท์ที่อยู่ท้ายเล่มหนังสือ ที่ประกอบด้วยคำต่างๆ เรียงตามตัวอักษร โดยจะเก็บค่าของเขตข้อมูลคีย์ทั้งหมดพร้อมด้วยตำแหน่งของระเบียนที่มีค่าเขตข้อมูลคีย์นั้น
- แฟ้มลำดับดรรชนี (Indexed sequential file) เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างจากแฟ้มดรรชนี ซึ่งตัวระเบียนในแฟ้มข้อมูลไม่เรียงตามลำดับ แต่เรียงเฉพาะคีย์ในดรรชนี แฟ้มลำดับดรรชนี มีระเบียนที่เรียงลำดับตามเขตคีย์ข้อมูล และมีดรรชนีบางส่วน
การจัดการฐานข้อมูล
ในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีแล้วยังต้องมีชุดคำสั่ง (Software) ที่จะควบคุมการทำงานของเครื่องอีกด้วย การทำงานโดยวิธีการจัดแฟ้มซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า ระบบการจัดการกระทำแฟ้มข้อมูล (file handing system) อาจใช้โปรแกรมสำเร็จซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นแฟ้มที่มีระเบียบง่ายต่อการใช้งาน และช่วยทำให้ผู้ใช้ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมเหล่านี้จะใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (Data Base Management System : DBMS)
ระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการใช้งานประจำวัน การตัดสินใจของผู้บริหารจะกระทำได้รวดเร็ว ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศดังกล่าว แต่การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหลักการและวิธีการที่ทำให้ระบบมีระเบียบแบบแผนที่ดี การแบ่งประเภทแฟ้ม
ลักษณะการจัดการฐานข้อมูลที่ดี
เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีการฐานข้อมูลได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นจากการออกแบบและเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่เดียว การจัดการฐานข้อมูลจึงมีหลักการที่สำคัญ คือ
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2. กำหนดมาตรฐานข้อมูล
3. มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล
4. มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม
5. รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2. กำหนดมาตรฐานข้อมูล
3. มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล
4. มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม
5. รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง
![](http://www.whenifallinlove.net/diary/images_line/line11/28420_213109.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjvVuV5XmqWTkIl3iXB2iCngHK9xtVMnDc9YuHIP_S0zR2Z5_Yb2bYoDLHhNIQRVgaXjYBHil6FF4BI7AK_lVh7R0BAB-CMRGmIGsPsTOUGuyj-oDpd2UTg_Zu2X2v9X8nmqDjNv0dv7Jo/s1600/baipak.blogspot.com.cat%2528a%2529+.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้ ( Inconsistency )
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล
ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
3. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล อาจทำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันถูกเก็บ
ไว้หลาย ๆ แห่ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Reclundancy ) การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหา
ความซ้ำซ้อนได้
ไว้หลาย ๆ แห่ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Reclundancy ) การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหา
ความซ้ำซ้อนได้
4. รักษาความถูกต้อง ฐานข้อมูลบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดขึ้น เช่น การป้อนข้อมูลผิด ซึ่งระบบการจัดการฐานข้อมูล
สามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
สามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
5. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ เพราะในระบบฐานข้อมูลจะมีกลุ่มบุคคลที่คอยบริหารฐานข้อมูล
กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน
กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดการเรียกใช้ข้อมูลของ
ผู้ใช้แต่ละคนให้แตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ง่าย
ผู้ใช้แต่ละคนให้แตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ง่าย
7. ความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม โปรแกรมที่ใช้ในแต่ละแฟ้มข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลโดยตรง
ถ้าหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลก็ทำการแก้ไขโปรแกรมนั้น ๆ
ถ้าหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลก็ทำการแก้ไขโปรแกรมนั้น ๆ
ข้อเสียของฐานข้อมูล
การเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลมีข้อเสีย ดังนี้คือ
1. มีต้นทุนสูง ระบบฐานข้อมูลก่อให้เกิดต้นทุนสูง เช่น ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการจัดการระบบฐานข้อมูล บุคลากร ต้นทุน
ในการปฏิบัติงาน และ ฮาร์ดแวร์ เป็นต้น
ในการปฏิบัติงาน และ ฮาร์ดแวร์ เป็นต้น
2. มีความซับซ้อน การเริ่มใช้ระบบฐานข้อมูล อาจก่อให้เกิดความซับซ้อนได้ เช่น การจัดเก็บข้อมูล การออกแบบฐาน
ข้อมูล การเขียนโปรแกรม เป็นต้น
ข้อมูล การเขียนโปรแกรม เป็นต้น
3. การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในลักษณะเป็นศูนย์รวม (Centralized Database System ) ความล้มเหลวของการทำงานบางส่วนในระบบอาจทำให้ระบบฐานข้อมูลทั้งระบบหยุดชะงักได้
![](http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lumpang/datamon/images/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_teddy_bear_hr.gif)
แสดง : ตัวอย่างข้อมูลตามรูปแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ข้อมูล บริษัท เนติวงค์ จำกัด
![](http://www.whenifallinlove.net/diary/images_line/line11/28420_213105.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjvVuV5XmqWTkIl3iXB2iCngHK9xtVMnDc9YuHIP_S0zR2Z5_Yb2bYoDLHhNIQRVgaXjYBHil6FF4BI7AK_lVh7R0BAB-CMRGmIGsPsTOUGuyj-oDpd2UTg_Zu2X2v9X8nmqDjNv0dv7Jo/s1600/baipak.blogspot.com.cat%2528a%2529+.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7jkh0hijd9jbf8-1gFq-1zz1wKbS2hdTb2PZURst22YbslRLw8OzPYvTVc2Lw0Rr5mBD7Eb9hRuG-rLUmjC6iAZC0P3R934BG-IXmbIyAcIplsTvFoX-CRXGHFoaOGaW_5e0MIrf75rA/s1600/baipak.blogspot.com.rat.o.gif)
1.ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใช้เครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้าเครื่อง
2.ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่าสุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ
- งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
- งานที่มีการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากต่อการประมวลผลแต่ละครั้ง เช่น การปรับปรุงคะแนนสะสมของ นักศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ข้อมูลของนักศึกษาทุกคนจะถูกปรับปรุงใหม่
วิธีการประมวลระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแรกมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อกับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้
ระบบการประมวลแบบออน-ไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
- งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย
- งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละครั้ง แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น
- งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่
- งานที่ต้องการความรวดเร็ว
การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั้นสามารถจำแนกได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) และการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (On-Line Processing)
การประมวลผลแบบกลุ่ม
การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งรวมเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด ๆ หรือเป็นจำนวนมากก่อน แล้วจึงทำการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ในเวลาถัดมา เมื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์มีปริมาณมากพอควรแล้วหรือเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ได้มีการระบุไว้แน่นอน (Fixed Intervals) จึงค่อยทำการประมวลผลหรือส่งเข้าไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงแฟ้มข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง
การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นวิธีการประมวลผลที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และเหมาะสำหรับงานที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทันทีทันใดที่เกิดรายการข้อมูลขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบการรับ-จ่ายเงินเดือน ระบบการจัดทำใบเรียกเก็บเงิน เป็นต้น หากทว่าข้อจำกัดที่สำคัญของระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่มีเก็บรวบรวมไว้อาจไม่เป็นปัจจุบัน
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
ในการประมวลผลแบบเชื่อมตรง ข้อมูลจะถูกส่งจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านทางแผงแป้นอักขระของเครื่องปลายทางไปยังหน่วยประมวลผลกลางในทันทีที่มีรายการข้อมูลเกิดขึ้น เพื่อนำ ข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลางหรือไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนปลงแฟ้มข้อมูลในหน่วยความจำสำรองโดยตรง
ข้อดีของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ
เนื่องจากข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนและการตัดสินใจได้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจะเป็นการช่วยลดความผิดพลาดและความเสียหายในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลางได้ หากข้อจำกัดของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดทำระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรงค่อนข้างสูง
![](http://www.whenifallinlove.net/diary/images_line/line15/w02_020.gif)
1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตังอย่าง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
œ 1. ประเด็นเกี่ยวกับการลักลอบนำเอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวมถึงการสร้างความเสียหายต่อบุคคลและสังคมสารสนเทศ โดย“ผู้ไม่ประสงค์ดี”
œ 2. เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการขาด “จริยธรรมที่ดี” นั่นเอง
œ 3. บางกรณีถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งมีบทลงโทษแตกต่างกันไป
ตัวอย่างเช่น
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus)
œ 1. เขียนโดยนักพัฒนาโปรแกรมที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
œ 2. การทำงานจะอาศัยคำสั่งที่เขียนขึ้นภายในตัวโปรแกรมเพื่อกระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมาย
œ 3. แพร่กระจายโดยอาศัยคนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับพาหะที่โปรแกรมไวรัสนั้นแฝงตัวอยู่ เช่น รันโปรแกรม อ่านอีเมล์ เปิดดูเว็บเพจ หรือเปิดไฟล์ที่แนบมา
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ในเครื่องที่ใช้งานด้วยเพื่อคอยเฝ้าระวังไวรัสพวกนั้นเข้ามาทำร้ายเครื่องของเรา
2.อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
1.1 Hacker
Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับ สูง จนสามารถสร้างแก้ไขและเจาะระบบ การทำงานของเครือข่ายหรือการทำงานของโปรแกรมต่างๆ ได้โดยมีวัตถุประสงค์ในทางดี เช่นแก้ไชปรับแต่งโปรแกรม แก้ไขที่บกพร่องให้สมบูรณ์หรือดูแลรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ให้มีเสถียรภาพปราศจากการก่อกวนหรือถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี
2.2 Cracker
Cracker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับสูง จนสร้างและแก้ไขระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมต่างๆ ได้เช่นเดียวกับ Hacker แต่มีวัตถุประสงค์ในทางที่ไม่ดี เช่น เจาะเข้าเครือข่ายของผู้อื่นพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการขโมย password หรือข้อมูลสำคัญ เป็นต้น
2.3 สแปม (Spam)
สแปม (อังกฤษ: spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปมและเอสเอ็มเอสสแปม
2.4 ม้าโทรจัน (Trojan horse)
ม้าโทรจัน (อังกฤษ: Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
2.5 สปายแวร์ (Spyware)
สปายแวร์ (spyware) หมายถึง ประเภทซอฟต์แวร์ที่ออกแบบเพื่อสังเกตการณ์หรือดักจับข้อมูล หรือควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ใช้ไม่รับทราบว่าได้ติดตั้งเอาไว้ หรือผู้ใช้ไม่ยอมรับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเพื่อสร้างผลประโยชน์แก่ผู้อื่น
3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและลงโทษ มา 5 ตัวอย่าง
ตอบ. พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550 ฉบับชาวบ้าน
มาตรา 5. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอคุก 6 เดือน
มาตรา 6. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี
มาตรา 7. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
มาตรา 8. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
มาตรา 9. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 10. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet, message, virus, trojan, worm ... เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 11. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 12. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
มาตรา 13. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน
มาตรา 14. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 15. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 16. ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านเข้ามาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ เตรียมใจไว้เลยมีโดน ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
มาตรา 17(1). เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ
มาตรา 17(2). ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน
กฎหมายออกมาแล้ว ก็คงต้องระวังตัวกันให้มากขึ้นนะพวกเรา ... จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น